ยิดีรัสู่ว็ต์ที่ห้รู้รื่ * การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก *
:: เมนูหลัก ::
  หน้าแรก
  แบบทดสอบก่อนเรียน
  สมัยก่อนประวัติศาสตร์
  สมัยประวัติศาสตร์
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยโบราณ
     อียิปต์
     เมโสโปเตเมีย
     กรีก
     โรมัน
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยกลาง
     ศิลปะไบแซนไทน์
     ศิลปะโรมาเนสก์
     ศิลปะโกธิก
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่
     บารอก
     นีโอ-คลาสสิก
     โรแมนติก
     สัจนิยม
     เพรสชันนิสม์
 
     บบทดสอบหลังเรียน
:: เว็บที่หน้าสนใจ ::
  หนังสือพิมพ์
  
    ไทยรัฐ
      เดลินิวส์
      คมชัดลึก
      ข่าวสด
      ผู้จัดการ
      The Nation
      INN
      Bangkok Post 
  โทรทัศน์
      ช่อง 3
      ช่อง 5
      ช่อง7
      ช่อง 9
      ช่อง 11
      ช่อง itv
      UBC
      CNN
      BBC
 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก : ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่


ลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์สมัยใหม่
     "สมัยใหม่" เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา สภาพสังคมยุโรปมีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากสมัยกลาง จนเรียกได้ว่า "สมัยใหม่" มีดังนี้
     1. ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างเมืองต่างๆ ขยายตัวอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้า แพทย์ นักกฎหมาย ฯลฯ ทำให้ระบบฟิวดัลเริ่มเสื่อมและอำนาจขุนนางลดลง
     2. พระมหากษัตริย์เริ่มรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้น และรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนกลายเป็นประเทศชาติในปัจจุบัน
     3. ความต้องการแสวงหาความรู้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ทำให้ความสนใจต่อคริสต์ศาสนาลดน้อยลง ความก้าวหน้าในการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของ โยฮันน์ กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมัน เมื่อ พ.ศ.1448 เป็นผลให้พิมพ์หนังสือได้รวดเร็วและความรู้แพร่หลายออกไปกว้างขวาง

การแบ่งยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่
     1. สมัยใหม่ช่วงแรก คริสต์ศตวรรษที่ 15-18 มีเหตุการณ์สำคัญเรียงตามลำดับ ดังนี้
         1.1 การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissances) เป็นระยะที่ยุโรปฟื้นฟูศิลปวิทยาการต่างๆ ของกรีกและโรมันกลับมาอีกครั้งหนึ่ง และเป็นช่วงที่อำนาจของคริสต์จักรเสื่อมลง
         1.2 การสำรวจและการค้นพบดินแดนใหม่ อันเนื่องมาจากการขยายตัวทางการค้า ทำให้นักสำรวจและผจญภัยทางทะเลค้นพบดินแดนใหม่ที่ชาวตะวันตกไม่เคยรู้จักมาก่อน เช่น การค้นพบทวีปอเมริกาของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เมื่อ ค.ศ.1492 จึงเรียกว่า "สมัยแห่งการค้นพบ" (Age of Discovery)
         1.3 การปฏิรูปศาสนา เป็นการปฏิรูปคริสต์จักรให้พ้นจากความเสื่อม ต่อต้านการแสวงหาความร่ำรวยของนักบวชและสันตะปาปา (Pope) ประมุขของคริสต์จักร ซึ่งมักจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองหรือฝ่ายอาณาจักรมากเกินไป เป็นยุคที่สะท้อนถึงความใฝ่หาในเสรีภาพของมนุษย์ นักปฏิรูปศาสนาที่สำคัญ ได้แก่ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) และ จอห์น คาลแวง (John Calvin)
         1.4 การปฏิวัติวิทยาศาสตร์และยุคแห่งเหตุผล เป็นช่วงที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ มีการค้นคว้าทดลอง และการใช้เหตุผล ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆ เรียกว่า "ยุคแห่งเหตุผล" (Age of Reason) เกิดหลักปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม 2 กลุ่ม คือ
ปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) จะให้ความสำคัญแก่มนุษย์ในฐานะเป็นปัจเจกบุคล เชื่อในสติปัญญาและความสามารถของมนุษย์ที่จะค้นหาความจริงต่างๆ ในโลกได้ ปรัชญาธรรมชาตินิยม (Naturalism) มีความเชื่อว่าธรรมชาติแวดล้อมรอบๆ ตัวมนุษย์มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงศึกษาธรรมชาติสิ่งที่อยู่รอบๆ อย่างจริงจัง
         1.5 ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่ช่วงแรก ได้แก่ ศิลปแบบฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ เรเนซองส์ (Renaissance) แบบบารอก (The Baroque Arts) และแบบนีโอ-คลาสสิค (Neo-Classicism)

      2. สมัยใหม่ช่วงหลัง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา มีเหตุการณ์สำคัญ คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ยุโรปก้าวเข้าสู่สมัยใหม่อย่างแท้จริง สมัยใหม่ช่วงหลัง ทำให้สังคมยุโรปเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
         2.1 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ทำให้เกิดชนชั้นกลางและชนชั้นกรรมกร ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติอุตสาหกรรมโดยตรง
         2.2 การเคลื่อนไหวของแนวความคิดสังคมนิยม เนื่องจากชนชั้นกรรมกรใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนเจ้าของโรงงาน จึงเกิดแนวความคิดสังคมนิยมที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาสังคมให้เกิดความเสมอภาค ความเป็นธรรมในสังคม ทำให้เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ.1917 และการปฏิวัติในจีน ค.ศ.1949 นักคิดคนสำคัญในแนวทางสังคมนิยม คือ คาร์ล มาร์กซ์ (Carl Marx) บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์
         2.3 การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การค้นพบดินแดนใหม่ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป เป็นผลให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวตะวันตกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีอาหารบริโภคและสินค้าใช้สอยมากขึ้น และเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมเมือง
         2.5 ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่ในช่วงหลัง ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรมแบบโรแมนติก (Romanticism) และแบบสัจนิยม (Realism) ซึ่งเป็นลักษณะของคริสต์ศตวรรษที่ 19

ความหมายของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
     1. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ เรเนสซองส์ (Renaissance) หมายถึง การเกิดใหม่ของศิลปวัฒนธรรมกรีกและโรมัน เกิดขึ้นในตอนปลายสมัยกลาง และต่อเนื่องไปถึงสมัยใหม่ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15-16

     2. เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่สมัยเรเนสซองส์ มี 2 ประการ คือ
         2.1 การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องพิมพ์หนังสือของโยฮัน กูเดนเบอร์ก (Johannes Gutenberg) ชาวเยอรมัน เมื่อ ค.ศ.1448 เป็นผลให้วิทยาการความรู้แขนงต่างๆ แพร่หลายมากขึ้น
         2.2 การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออกและศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมไบแซนไทน์ของสมัยกลาง เมื่อ ค.ศ.1453 ซึ่งถูกรุกรานโดยพวกออตโตมันเตอร์ก เป็นผลให้ผู้คนหนีเข้ามาในยุโรปและนำศิลปวิทยาการกรีก-โรมัน เข้ามาเผยแพร่ในยุโรปอีกครั้งหนึ่ง

     3. ลักษณะสำคัญของสมัยเรเนสซองส์ มีความแตกต่างจากสมัยกลาง 2 ประการ ดังนี้
         3.1 การแพร่หลายของแนวความคิดมนุษยนิยม (Humanism) เน้นการค้นหาความจริงเกี่ยวกับตัวมนุษย์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ ให้ความสนใจในโลกปัจจุบันมากกว่าเรื่องราวของคริสต์ศาสนา พิจารณาสรรพสิ่งในโลกอย่างมีเหตุผล การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของชาวยุโรป มีผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมโดยตรง มนุษย์เริ่มสลัดตนเองให้พ้นจากอิทธิพลของคริสต์ศาสนา และคิดที่จะพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าโดยการเรียนรู้งานศิลปวิทยาการของกรีกและโรมัน ซึ่งถือว่าเป็นแบบฉบับของความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด
         3.2 การสำรวจและค้นพบเส้นทางเดินเรือทางทะเลใหม่ๆ บางทีเรียกว่า "สมัยแห่งการค้นพบ" (Age of Discovery) นับตั้งแต่การค้นพบทวีปอเมริกาของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เมื่อ ค.ศ.1492 เป็นต้นมา เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของยุโรปอย่างใหญ่หลวง มีการขยายตัวทางการค้า และการล่าดินแดนอาณานิคมที่เรียกว่า "สมัยแห่งลัทธิอาณานิคม" (Colonialism) ซึ่งมีผลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมของยุโรปทั้งสิ้น

     4. ฐานะของศิลปินสมัยเรเนสซองส์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ในยุคเรเนสซองส์ จะได้รับการยอมรับในฐานะศิลปิน มิใช่ช่างฝีมืออย่างสมัยกลาง มีชื่อเสียงมีการศึกษาดีและมีฐานะสูงในสังคม ตลอดจนได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจากชนชั้นปกครอง

งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
     สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือเรเนสซองส์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-17 เป็นสมัยที่ยุโรปได้รับอิทธิพลศิลปะแบบคลาสสิก (Classic) หมายถึง ศิลปกรรมของกรีกและโรมัน ซึ่งเป็นแบบอย่างของศิลปะที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในทุกแขนง

     1. งานสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นสมัยนี้ คือ การใช้รูปแบบอาคารกรีกและโรมัน ได้แก่ การใช้หลังคาโค้ง การใช้ครึ่งวงกลม (arch) การใช้หลังคาโดม และการใช้เสาขนาดใหญ่ เป็นต้น มีศูนย์กลางความเจริญที่ยุโรป งานชิ้นเอกที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ วิหารเซนต์ ปีเตอร์ ในสำนักวาติกัน กรุงโรม ออกแบบโดย บรามันเต (Bra Mrante) และไมเคิล แองเจโล (Michel Angelo) เป็นวิหารในคริสต์ศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

     2. งานประติมากรรม เน้นความงามในสรีระร่างกายของมนุษย์ รูปปั้นหรือรูปแกะสลักหินอ่อน จะแสดงอาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเหมือนจริงตามธรรมชาติ ผลงานชิ้นสำคัญส่วนใหญ่เป็นของไมเคิล แองเจโล ซึ่งมีความสามารถในศิลปะเกือบทุกแขนง เช่น รูปสลักหินอ่อน เดวิด โมเสส และพิเอตา

     3. งานจิตรกรรม จุดเด่นของสมัยนี้ คือ การเขียนภาพที่มีลักษณะเหมือนจริง ที่เรียกว่า เปอร์สเปคทีฟ (Perspective) โดยให้สี แสง และเงาอย่างกลมกลืน มองเห็นความตื้นลึกของภาพตามความเป็นจริง ผลงานที่เด่นที่สุดเป็นของ ลีโอนาร์โด ดาร์วินชี (Leonardo da Vinci) ชาวอิตาลี ซึ่งภาพโมนาลิซา (Mona Lisa) และอาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) ซึ่งแสดงบรรยากาศในขณะที่พระเยซูกำลังเสวยอาหารร่วมกับสาวกครั้งสุดท้าย

     4. วรรณกรรม ได้รับอิทธิพลทางด้านความคิดและปรัชญาของกรีกมิใช่น้อย ผลงานที่สำคัญมีดังนี้
         4.1 อีรัสมุส (Erasmus) ชาวฮอลันดา ได้ศึกษาปรัชญาของกรีกอย่างลึกซึ้ง จนมีความเห็นว่า หลักปรัชญาของโสเครตีสเหมือนกับคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์หลายประการ นอกจากนี้ได้แปลคำภีร์ไบเบิล และเขียนหนังสือที่เน้นให้มนุษย์มีความเอื้อเฟื้อต่อกันตามลักษณะของมนุษยนิยม และการเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่ดี ซึ่งงานเขียนจะมีอิทธิพลต่อการปฏิรูปศาสนาในสมัยต่อมา
         4.2 แมคคิอาเวลลี (Marchiavilli) ชาวอิตาลี เขียนหนังสือด้านปรัชญาการเมืองเรื่อง "เจ้าชาย" (The Prince) เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมืองและกระตุ้นให้เกิดการรวมชาติอิตาลี โดยเน้นว่า "อำนาจ คือ ศีลธรรม" ถ้าต้องการให้บรรลุผลสำเร็จทางการเมือง ต้องไม่คำนึงถึงศีลธรรมใดๆ
         4.3 เซอร์ โทมัส มอร์ (Sir Thomas More) ชาวอังกฤษมีผลงานที่สำคัญ คือ "ยูโทเปีย" (Utopia) เป็นรัฐในอุดมคติ สะท้อนถึงความปรารถนาในสังคมที่ดีงามของคนสมัยนั้น
         4.4 วิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare) ชาวอังกฤษนักเขียนบทละครที่เด่นที่สุดแห่งยุค เน้นความไพเราะสวยงามทางภาษา ใช้ศัพท์ที่มีความหมายลึกซึ้ง แต่มิได้ยึดระเบียบที่เคร่งครัดตามแนวคลาสสิคของกรีก-โรมันมากนัก ผลงานที่สำคัญคือ โรมิโอ-จูเลียต (Romeo-Juliet) เวนิสวานิช (The Merchant of Venice) เป็นต้น



การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก
นำเสนอโดย เอมอร กาศสกุล