ยิดีรัสู่ว็ต์ที่ห้รู้รื่ * การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก * 
:: เมนูหลัก ::
  หน้าแรก
  แบบทดสอบก่อนเรียน
  สมัยก่อนประวัติศาสตร์
  สมัยประวัติศาสตร์
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยโบราณ
     อียิปต์
     เมโสโปเตเมีย
     กรีก
     โรมัน
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยกลาง
     ศิลปะไบแซนไทน์
     ศิลปะโรมาเนสก์
     ศิลปะโกธิก
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่
     บารอก
     นีโอ-คลาสสิก
     โรแมนติก
     สัจนิยม
     เพรสชันนิสม์
 
     บบทดสอบหลังเรียน
:: เว็บที่หน้าสนใจ ::
  หนังสือพิมพ์
  
    ไทยรัฐ
      เดลินิวส์
      คมชัดลึก
      ข่าวสด
      ผู้จัดการ
      The Nation
      INN
      Bangkok Post 
  โทรทัศน์
      ช่อง 3
      ช่อง 5
      ช่อง7
      ช่อง 9
      ช่อง 11
      ช่อง itv
      UBC
      CNN
      BBC
 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก : งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมกรีก

งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมกรีก
     1. ลักษณะของชนชาติกรีก ชาวกรีกโบราณเป็นกลุ่มชนเชื้อสายอินโด-ยูโรเปียน ตั้งถิ่นฐานในดินแดนกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกเรียกตนเองว่า "เฮเลนีส" (Hellenes)

     2. การสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมกรีก เป็นผลมาจากคุณลักษณะนิสัยเฉพาะตัวของชาวกรีกโบราณ ได้แก่ ความเป็นตัวของตัวเอง ความรักในเสรีภาพ ไม่ผูกมัดกับประเพณี หรือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเคร่งครัด แต่มีความสนใจศึกษาเรื่องราวของมนุษย์และธรรมชาติและค้นหาความจริงอย่างมีเหตุผล ศิลปวัฒนธรรมกรีกนับได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของศิลปวัฒนธรรมตะวันตกอย่างแท้จริง

     3. สังคมกรีกโบราณมีลักษณะเป็นสังคมนครรัฐ แต่ละนครรัฐต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน กรีกมีความเจริญมั่นคงจนกลายเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมแทนที่อียิปต์ มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างก้าวหน้า มีท่าเรือดีๆ หลายแห่ง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและการใช้แรงงานทาส จึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรมของกรีกโรมัน

     4. ศิลปวัฒนธรรมกรีก แบ่งออกเป็น 2 ยุค
          4.1 ยุคเฮลเลนิก (Hellenic Period) มีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่นครเอเธนส์ มีลักษณะเป็นศิลปกรรมกรีกอย่างเด่นชัด
          4.2 ยุคเฮลเลนิสติก (Hellenisitc Period) มีศูนย์กลางที่เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) ในอียิปต์ เป็นศิลปวัฒนธรรมกรีกผสมผสานกับศิลปะตะวันออก

ศิลปวัฒนธรรมกรีกสมัยเฮลเลนิก
     1. สมัยเฮลเลนิก สะท้อนลักษณะของชาวกรีกที่สร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมอย่างเรียบง่ายผสมกลมกลืน ได้สัดส่วน และมีความเป็นตัวของตัวเอง

     2. งานสถาปัตยกรรม เป็นงานศิลปะที่เด่นที่สุดของกรีก โดยเฉพาะการสร้างวิหารที่มีเสาหินอ่อนแกะสลักอย่างประณีตสวยงาม ซึ่งมีอิทธพลต่องานสถาปัตยกรรมของโรมันและยุโรปในสมัยต่อมา งานสถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุด คือ วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างตามแบบดอริก (Doric) และวิหารอีเรคเธียม (Erectheum) สร้างแบบไอโอนิค (Ionic)


วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) รูปปั้นเทพเจ้าอพอลโล

     3. งานประติมากรรม
         3.1 ศิลปกรรมอียิปต์มีอิทธิพลต่องานประติมากรรมของกรีกในสมัยแรกๆ กล่าวคือ รูปปั้นเทพเจ้าหรือบุคคลสำคัญมักมีรูปร่างใหญ่กว่ามนุษย์จริง หน้าตรง แข็งทื่อ มีทั้งแกะสลักด้วยหินอ่อนและหล่อเป็นสำริด
         3.2 สมัยต่อมาได้พัฒนาเป็นแบบฉบับเฉพาะตัวของกรีกมากขึ้น แสดงให้เห็นลักษณะมนุษยนิยมและความสมดุล มีอารมณ์ ท่าทาง และการเคลื่อนไหวเหมือนมนุษย์จริง เสื้อผ้า อ่อนพลิ้ว
         3.3 ลักษณะเด่นของงานประติมากรรมกรีก คือ การแสดงสรีระของมนุษย์ในลักษณะเปลือยกายอย่างเป็นอิสระ ได้รูปทรงทรงและสัดส่วนที่สมบูรณ์ เช่น รูปปั้นนักขว้างจักร

     4. งานวรรณกรรม ผลงานส่วนใหญ่ปรากฎในรูปของกวีนิพนธ์ หรืองานร้อยกรองแบบมหากาพย์ เกี่ยวกับนิยาย ตำนาน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการดำรงชีวิตของชาวกรีกในสมัยนั้น เช่น มหากาพย์อีเลียด (Iliad) และโอดิสซี (Odyssey) ของกวีชื่อโฮเมอร์ (Homer) นอกจากนี้ ยังมีงานร้อยแก้วที่เป็นทานพื้นบ้านสั่งสอนศีลธรรม ได้แก่ นิทานอีสป (Aesop) เป็นต้น

     5. งานจิตรกรรม กรีกสร้างผลงานจิตรกรรมบนภาชนะเครื่องปั้นดินเผา เช่น ไหเหล้า โถเหล้า แสดงถึงความงามด้านศิลปะและสะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรีก เช่น การบูชาเทพเจ้า พิธีกรรมทางศาสนา การล่าสัตว์ และการเพาะปลูก เป็นต้น

     6. ปรัชญานิพนธ์หรือด้านปรัชญา
         6.1 โสเครดิส (Socrates) เป็นนักคิด นักอภิปราย ชอบตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบในสิ่งที่ตนสงสัย โดยเฉพาะด้านจริยธรรม
         6.2 เพลโต (Plato) เป็นผู้รวบรวมความคิดทางด้านปรัชญาของโสเครดิสและเขียนเป็นหนังสือ เรื่อง บทสนทนาหรือไดอะลอก (Dialogue) โดยเน้นหลักการของโสเครดิสที่ว่า "คุณธรรมคือความรู้ มนุษย์จะดีได้ก็ต่อเมื่อรู้ว่าความดีคืออะไร"
         6.3 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้เผยแพร่ความรู้ทางปรัชญาให้แพร่หลายออกไป

     7. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ มีนักประวัติศาสตร์กรีก 2 คน ที่สร้างผลงานที่ทรงคุณค่าต่อมนุษยชาติ มีดังนี้
         7.1 เฮโรโดตัส (Herodotus) ได้รับยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" ของโลกตะวันตก เสนอวิธีการเขียนประวัติศาสตร์โดยการรวบรวมเอกสารหลักฐานและคำบอกเล่าจากผู้เห็นเหตุการณ์ ตลอดจนเดินทางไปสำรวจที่ที่เกิดเหตุการณ์จริง ผลงานที่สำคัญเป็นวรรณกรรมร้อยแก้ว เรื่อง "ประวัติศาสตร์" (History) เล่าเรื่องของสงครามระหว่างกรีกกับเปอร์เซีย
         7.2 ธิซิดิดีส (Thucydides) เขียนวรรณกรรมประวัติศาสตร์ บรรยายภาพสงครามระหว่างนครรัฐต่างๆ โดยเสนอเหตุการณ์ตามความเป็นจริง และประการสำคัญคือ การให้ความสนใจศึกษาลักษณะของชนชาติต่างๆ ในสมัยนั้น

     8. นาฏกรรม กรีกมีศิลปการละครที่เฟื่องฟูไม่แพ้ศิลปะแขนงอื่นๆ ส่วนใหญ่ผูกพันกับความเชื่อทางศาสนา มักแสดงประกอบในพิธีบูชาเทพเจ้า ในเวทีหรือโรงละครกลางแจ้ง มีผู้ชมนั่งตามอัฒจันทร์เป็นรูปครึ่งวงกลม

ศิลปะวัฒนธรรมกรีกสมัยเฮลเลนิสติก
     1. สมัยเฮลเลนิสติก (Hellenisitc) เป็นยุคที่ศิลปะกรีกแพร่ไปทางตะวันออก และมีการนำวัฒนธรรมตะวันออกเข้ามาผสมผสาน มีอายุระหว่าง 300-145 ปี ก่อน ค.ศ.

     2. ลักษณะสำคัญของงานศิลปะสมัยนี้ คือ เน้นความโอ่อ่าหรูหรา ไม่คำนึงถึงความสมดุลและกลมกลืนเหมือนสมัยเฮเลนิค สิ่งก่อสร้างมักมีขนาดใหญ่ และประดับประดามากขึ้น ส่วนมากเป็นศิลปะแบบโครินเธียน

     3. งานจิตรกรรมและประติมากรรม แสดงออกถึงความประณีตและละเอียดอ่อน มีลวดลายวิจิตรพิสดาร และแสดงออกทางอารมณ์ตามธรรมชาติของมนุษย์

ห้องอาบน้ำโบราณศิลปกรีกสมัยเฮลเลนิสติก


การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก
นำเสนอโดย เอมอร กาศสกุล