ยิดีรัสู่ว็ต์ที่ห้รู้รื่ * การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก *
:: เมนูหลัก ::
  หน้าแรก
  แบบทดสอบก่อนเรียน
  สมัยก่อนประวัติศาสตร์
  สมัยประวัติศาสตร์
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยโบราณ
     อียิปต์
     เมโสโปเตเมีย
     กรีก
     โรมัน
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยกลาง
     ศิลปะไบแซนไทน์
     ศิลปะโรมาเนสก์
     ศิลปะโกธิก
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่
     บารอก
     นีโอ-คลาสสิก
     โรแมนติก
     สัจนิยม
     เพรสชันนิสม์
 
     บบทดสอบหลังเรียน
:: เว็บที่หน้าสนใจ ::
  หนังสือพิมพ์
  
    ไทยรัฐ
      เดลินิวส์
      คมชัดลึก
      ข่าวสด
      ผู้จัดการ
      The Nation
      INN
      Bangkok Post 
  โทรทัศน์
      ช่อง 3
      ช่อง 5
      ช่อง7
      ช่อง 9
      ช่อง 11
      ช่อง itv
      UBC
      CNN
      BBC
 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก : ศิลปวัฒนธรรมแบบแบบนีโอ-คลาสสิก


ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบนีโอ-คลาสสิก
     ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classicism) เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานสร้างสรรค์ยังคงยึดรูปแบบคลาสสิกของกรีก-โรมัน แต่ให้ความสำคัญต่อเหตุผลมากที่สุด เนื่องจากในช่วงเวลาอยู่ในยุคของเหตุผล (Age of Reason) หรือสมัยแห่งภูมิปัญญา (The Enlightenment) มนุษย์มีความเชื่อมั่นในเหตุผล เชื่อความสามารถและสติปัญญาของตน อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา

งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมแบบนีโอ-คลาสสิก
     1. งานสถาปัตยกรรม มีความเจริญรุ่งเรืองในฝรั่งเศส ได้รับอิทธิพลศิลปะกรีก-โรมัน อยู่มาก เช่น ประตูชัยที่กรุงปารีส และพระราชวังเปอติต์ ตริอานอง (Pettit Trianon) ที่มีความงดงามหรูหราของฝรั่งเศส
     2. งานด้านจิตรกรรมและประติมากรรม มีลักษระเด่นคือ เน้นเรื่องเส้นมากกว่าการใช้สี มีความเรียบง่าย แต่สง่างามตามแบบศิลปะกรีก-โรมัน ผลงานมีลักษณะคล้ายคลึงกับของกรีกโบราณ โดยเฉพาะการแต่งกาย เช่น รูปปั้นของพระเยซูที่แต่งกายแบบกรีกโบราณ เป็นต้น
จิตรกรที่มีชื่อเสียงแห่งยุค คือ ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชาวสเปน เขียนภาพแสดงความเลวร้ายของชนชั้นปกครองสเปน และความเสื่อมโทรมของศาสนจักรและสังคมในสมัยนั้น
     3. งานวรรณกรรม ยังคงมีอิทธิพลของศิลปะกรีก-โรมันแฝงอยู่ กล่าวคือ ยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑ์เดิม แต่เน้นความสำคัญของเหตุผลและความคิด มิใช่อารมณ์อย่างเดียว มีการเขียนวิพากษ์วิจารณ์และเสียดสีสังคมมากขึ้น สะท้อนถึงความต้องการที่จะปรับปรุงสังคมให้ดีงามโดยสันติวิธี ภาษาที่ใช้มีความไพเราะสละสลวย แต่ในช่วงตอนปลายของคริสต์วรรษที่ 18 งานวรรณกรรมค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป การยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของวรรณกรรมคลาสสิกลดน้อยลง แต่ให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในการเขียน โดยใช้รูปแบบที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เช่น การใช้ภาษาประจำชาติของผู้ประพันธ์ เป็นต้น
         3.1 กวีนิพนธ์ ที่มีชื่อเสียงมากเป็นผลงานของอเล็กซานเดอร์โป๊ป (AlexanderPope) กวีชาวอังกฤษ เรื่อง "ความเรียงเรื่องมนุษย์" (Ah Essay on Man) เขียนตามรูปแบบและกฎเกณฑ์สมัยคลาสสิกอย่างเคร่งครัด ใช้ถ้อยคำคมคาย เสียดสีมนุษย์และสังคมอย่างตรงไปตรงมา
         3.2 งานร้อยแก้ว มีลักษณะมุ่งวิพากษ์วิจารณ์เสียดสีสภาพสังคมและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของฝ่ายคริสต์จักร ดังเห็นได้จากผลงานของวอลแตร์ (Voltaire) นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส และโจนาธาน สวีปท์ (Jonathan Swift) นักเขียนชาวอังกฤษ ที่เขียนเรื่อง "การผจญภัยของกัลลิเวอร์" (Gulliver's Travels) ซึ่งมุ่งถากถางสังคมและการปกครองของอังกฤษในขณะนั้น ตลอดจนแดเนียล เดอโฟ (Daniel Defoe) นักเขียนชาวอังกฤษ ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานเขียนวรรณกรรมประเภทนวนิยาย (Novel) ของสมัยปัจจุบันผลงานที่เด่นที่สุด คือ "โรบินสัน ครูโซ" (Robinson Crosoe)
     4. นาฎกรรม บทละครนีโอ คลาสสิก ได้รับอิทธิพลจากบทละครกรีกที่เน้นความสมเหตุสมผลของเรื่อง และมุ่งสอนศีลธรรมแก่ผู้ชมควบคู่กับความบันเทิง มีทั้งบทละครประเภทโศกนาฎกรรมและสุขนาฎกรรม
     5. ดนตรี อิทธิพลของแนวความคิดในสมัยแห่งเหตุผลที่เชื่อมั่นในภูมิปัญญาและความสามารถของมนุษย์ เปิดโอกาสให้นักดนตรี นักร้องและนักแต่งเพลง แสดงความสามารถส่วนตัวออกมาได้อย่างเต็มที่ เช่น การแสดงดนตรีเดี่ยว และการร้องเดี่ยวให้เพลงโอเปร่า เป็นต้น การประพันธ์เพลงจะยึดหลักเกณฑ์โดยเคร่งครัด นักดนตรีที่สำคัญได้แก่ โมสาร์ท (Mozart) และ บีโธเฟน (Beethoven)
ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya)
"พระราชวงศ์พระเจ้าชาลส์ที่ 4"
โดย ฟรานซิสโก โกยา
"ใต้ร่มเงาแดด" โดย ฟรานซิสโก โกยา

อเล็กซานเดอร์โป๊ป (AlexanderPope)
วอลแตร์ (Voltaire)
โจนาธาน สวีปท์
(Jonathan Swift)
แดเนียล เดอโฟ (Daniel Defoe)

โมสาร์ท (Mozart)
บีโธเฟน (Beethoven)


การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก
นำเสนอโดย เอมอร กาศสกุล