ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบสัจนิยม
1. ศิลปะแบบสัจนิยม (Realism)
เป็นศิลปะที่สะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างตรงไปตรงมา
ไม่เน้นความรู้สึก อารมณ์ และจินตนาการของศิลปิน แต่มุ่งเสนอความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์
เช่น สะท้อนสภาพความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นของชนชั้นกรรมาชีพ เป็นต้น
2. แนวทางของศิลปะแบบสัจนิยม
มุ่งต่อต้านศิลปะแบบโรแมนติกที่มิได้ให้ความสำคัญต่อสภาพที่เป็นจริงของสังคม
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยสองประการข้างต้น เป็นกระบวนการทางศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่
19 เป็นต้นมา ทำให้งานสร้างสรรค์ศิลปะมีประโยชน์และรับใช้มนุษย์โดยตรงมากขึ้น
|
ผลงานของกุสตาฟ โฟล์แบรต์ (Gustave Flaubert) |
งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมแบบสัจนิยม
1. งานวรรณกรรม ศิลปแนวสัจนิยมแสดงออกในงานวรรณกรรมมากที่สุด
มีดังนี้
1.1
ผลงานของกุสตาฟ โฟล์แบรต์ (Gustave Flaubert) ชาวฝรั่งเศส แสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นกลางที่ไม่มีสาระแก่นสารอันใดใน
"มาดามโบวารี" (Madame Bovary)
1.2
ผลงานของชาร์ลส์ ดิกแกนส์ (Charles Dickens) ชาวอังกฤษ ในเรื่อง
"โอลิเวอร์ ทวิสต์" (Oliver Twist) สะท้อนถึงชีวิตของเด็กในสังคมอุตสาหกรรม
งานเขียนอื่นๆ เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ความเลวร้ายของสังคมและความเอารัดเอาเปรียบของนายทุน
เป็นต้น
1.3
ยอร์ช เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Burnard Shaw) นักเขียนแนวสัจนิยมเชิงเสียดสีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอังกฤษ
ชอบเขียนเสียดสีสังคม ศาสนา ระบอบประชาธิปไตยและลัทธิทุนนิยม
เป็นต้น
1.4
ลิโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) นักเขียนชาวรัสเซีย ผลงานที่ยิ่งใหญ่
คือ "สงครามและสันติภาพ" (War and Peace)
1.5
งานเขียนประเภทสัจสังคม (Social Realism) เป็นงานวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลของลัทธิมาร์กซ์
มุ่งสะท้อนปัญหาสังคม การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างนายทุนกับกรรมกร
ชี้นำถึงสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขตามวิธีของมาร์กซิสม์ นวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในแนวนี้
คือ "แม่" (Mother) ผลงานของแมกซิม กอร์กี (Maxim
Gorky) นักเขียนชาวรัสเซีย
1.6
งานเขียนประเภทธรรมชาตินิยม (Naturalism) เป็นวรรณกรรมสัจนิยมอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่นำความรู้และวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อธิบายสาเหตุของปัญหาที่เกิดกับมนุษย์
โดยเฉพาะทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน ที่กล่าวว่า สภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อสภาพจิตใจมนุษย์
นักเขียนในแนวนี้ คือ เอมิล โซลา (Emile Zola) ชาวฝรั่งเศส
2. ศิลปะนาฎกรรม การละครแบบสัจนิยมมุ่งสะท้อนสภาพสังคมตามความเป็นจริง
เน้นให้ผู้แสดงเล่นอย่างสมจริงตามธรรมชาติ ไม่แสดงอารมณ์มากนัก
เศร้าอย่างรุนแรงแบบโรแมนติก เป็นละครแบบร้อยแก้ว ตัวละครใช้บทเจรจาด้วยภาษาที่สมจริงตามฐานะของตัวละคร
ไม่ใช่ภาษากวีร้อยกรองเหมือนแต่ก่อน
3. ด้านจิตรกรรม จิตกรแนวสัจนิยมไม่นิยมเขียนภาพด้วยจินตนาการเหมือนอย่างพวกโรแมนติก
แต่จะเขียนภาพจากสิ่งที่พบเห็น เช่น ภาพทุ่งนา ภาพชีวิตกรรมกรในเหมืองถ่านหิน
เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นการสร้างสรรค์ผลงานของจิตรกรชาวฝรั่งเศส
 |
 |
 |
ชาร์ลส์ ดิกแกนส์ (Charles Dickens) |
ยอร์ช เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Burnard Shaw) |
เอมิล โซลา (Emile Zola) |
 |
 |
ลิโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) |
แมกซิม กอร์กี
(Maxim Gorky) |
|