เหตุการณ์สำคัญในตอนปลายของจักรวรรดิโรมัน
ในตอนปลายของจักรวรรดิโรมัน มีเหตุการณ์สำคัญ
2 ประการ ที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางด้านศิลปวิทยาการของโลกตะวันตก
ได้แก่
1. การเจริญเติบโตของคริสต์ศาสนา คริสต์ศาสนาได้พัฒนามาจากลัทธิจูดา
(Judaism) ของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ กรุงโรมถือว่าการเผยแพร่ของคริสต์ศาสนาเป็นสิ่งต้องห้าม
เพราะมีหลักการที่กระทบต่ออำนาจและความเชื่อเดิมของพวกตน เช่น
การนับถือพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งต่างจากความเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ตามแบบของกรีกและโรมัน
และการสอนให้มนุษย์มีความรักมีคุณธรรมต่อกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติ
ชาวคริสเตียนในสมัยนั้นจึงถูกปราบปรามอย่างหนัก รวมทั้งการประหารชีวิตพระเยซูโดยตรึงที่ไม้กางเขน
จนกระทั่งใน ค.ศ. 312 จักรวรรดิคอนสแตนตินจึงทรงประกาศตนเป็นคริสต์ศาสนิกชน
ประกาศให้มีขันติธรรมทางศาสนา เป็นผลให้คริสต์ศาสนาแพร่หลายอย่างรวดเร็วในจักรวรรดิโรมัน
2. การรุกรานจากอนารยชนเยอรมัน จักรวรรดิโรมันถูกรุกรานโดยชนเผ่าเยอรมันหลายเผ่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
5 จนกระทั่ง ค.ศ.476 กรุงโรมจึงล่มสลาย พวกอนารยชนได้เข้าปกครองดินแดนจักรวรรดิโรมันแทนที่
และค่อยๆ ซึมซับอารยธรรมโรมันที่สูงกว่าเป็นของตน
 |
 |
การประหารชีวิตพระเยชู |
การรุกรานอนารยชนเยอรมัน |
ลักษณะของสังคมสมัยกลาง
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5-16 นับตั้งแต่การรุกรานและการเข้ายึดครองดินแดนของพวกอนารยชนเยอรมัน
เรียกประวัติสาสตร์ช่วงนี้ว่า "สมัยกลาง" หรือยุคมืดมนของยุโรป
ลักษณะเด่นของสังคมสมัยกลางคือ การเผยแพร่ขยายอิทธิพลของคริสต์จักร
และระบบสังคมลัทธิฟิวดัล (Feudalism)
1. อิทธิพลของคริสต์สาสนาและสำนักสันตะปาปา
(Pope) ในช่วงเวลาดังกล่าวคริสต์ศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจเหนืออาณาจักร
เนื่องจากชนเผ่าเยอรมันแตกแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากมาย ไม่อาจรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
ทำให้สำนักสันตะปาปาที่กรุงโรมได้รับการยอมรับในอำนาจและขยายบทบาทอิทธิพลของตนอย่างมั่นคง
โดยมีอำนาจเหนืออาณาจักรทั้งในด้านการบริหาร นิติบัญญัติ และการศาล
2. ระบบสังคมลัทธิฟิวดัล (Feudalism)
มีลักษณะคล้ายคลึงกับระบบศักดินาของไทย กล่าวคือ พวกเจ้านายขุนนาง
(Lords) เป็นเจ้าของที่ดิน และมีนักรบอัศวิน (Knight) มาขึ้นในสังกัด
ช่วยดูแลการปกครองอาณาจักรของขุนนาง ทั้งนี้อัศวินจะได้ผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
เช่น เก็บภาษีผลิตผลจำนวนหนึ่งจากราษฎรที่เข้ามาทำมาหากินในที่ดินผืนนั้นนับได้ว่า
ระบบสังคมลัทธิฟิวดัล มีลักษณะของการกระจายอำนาจทางการเมืองและการปกครองให้แก่เจ้านายขุนนางมากกว่า
การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางเหมือนอย่างจักรวรรดิโรมัน
กลุ่มชนชั้นในสังคมสมัยกลาง
1. ชนชั้นปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์
ขุนนาง อัศวิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ครอบครองที่ดินจำนวนมาก
2. สามัญชน ได่แก่ ชาวนาอิสระ (เป็นเจ้าของที่ดินขนาดเล็ก)
และทาสติดที่ดิน (Serf) เป็นชาวนาที่อาศัยอยู่กับเจ้าของที่ดิน
และตกอยู่ใต้อำนาจเจ้าของที่ดิน
3. นักบวช พระหรือนักบวชในศาสนาคริสต์มีอิทธิพลตอ่การดำรงชีวิตของประชาชน
ศิลปะวัฒนธรรมสมักลาง
สมัยกลางมีความเจริญก้าวหน้าทางศิลปวัฒนธรรมจำแนกได้
3 กลุ่ม ประกอบด้วยศิลปะไบแซนไทน์ สิลปะโรมาเนสต์ และศิลปะโกธิก
1. ศิลปะไบแซนไทน์ (Bizantine Arts)
2. ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque Arts)
3. ศิลปะโกธิก (Gothic Arts)
งานวรรณกรรมของสมัยกลาง
1. งานวรรณกรรมสมัยกลองตอนต้น (คริสต์ศตวรรษที่
6-10)
1.1 วรรณกรรมทางศาสนา
เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา นับตั้งแต่กำเนิดของคริสต์ศาสนา
ความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของพระเจ้า การไถ่บาป และวันพิพากษาครั้งสุดท้าย
ตลอดจนหลักธรรมคำสั่งสอน ซึ่งสะท้อนถึงความศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้า
งานเขียนที่สำคัญ "เทวนคร" (The City of God) โดยนักบุญออกัสติน
(St. Augustine) วรรณกรรมทางศาสนาของสมัยกลางเขียนโดยใช้ภาษาละติน
ซึ่งเป็นภาษาหนังสือชั้นสูงสมัยนั้น
1.2 วรรณกรรมทางโลก
เป็นเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตของสังคมในระบอบฟิวดัล เน้นการต่อสู้
การผจญภัย และการสั่งสอนค่านิยมในด้านความซื่อสัตย์และความจงรักภักดีต่อขุนนางเจ้านาของตน
2. งานวรรณกรรมสมัยกลางตอนปลาย (คริสต์ศตวรรษที่ 13-14)
2.1 เน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางโลกมากขึ้น
มีลักษณะทางมนุษยนิยม มิใช่หมกมุ่นกับเรื่องทางศาสนาเหมือนแต่ก่อน
เป็นงานเขียนทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง มักนิยมใช้ภาษาท้องถิ่นของยุโรปแทนภาษาละติน
เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาเลียน เป็นต้น
2.2 นักเขียนและผลงานสำคัญ
ได้แก่ ตังเต (Dante) กวีชาวอิตาเลียนผู้แต่ง "The Divine
Comdy" ซึ่งเป็นมหากพย์ชิ้นเอกของสมัยกลาง กล่าวถึงชีวิตหลังความตาย
สะท้อนถึงความสามารถในด้านจินตนาการและการใช้เหตุผล กวีอื่นๆ
ได้แก่ โชเซอร์ (Chaucer) และบอคคัชชิโอ (Boccaccio) ซึ่งงานเขียนที่เด่นมักปรากฎในรูปของนิทานเพื่อความบันเทิงและเสียดสีศาสนจักร
มหาวิทยาลัยสมัยกลาง
1. การศึกษาของสมัยกลางในระยะแรกๆ
เน้นหนักทางด้านเทววิทยา เพื่อเตรียมคนเป็นผู้สืบศาสนา โดยใช้วัดเป็นคริสต์ศาสนาเป็นที่เล่าเรียน
ต่อมามีการจัดตั้งสถานศึกษาที่แยกออกจากวัดขึ้นในอิตาลี เพื่อเพิ่มพูนวิชาความรู้ให้แก่ผู้ที่เตรียมตัวเป็นพระให้สูงยิ่งขึ้น
ซึ่งต่อมาได้วิวันาการกลายเป็มหาวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยแห่งแรกของสมัยกลาง
คือ มหาวิทยาลัยโบโลญญา (Bologna) ในอิตาลี ตั้งขึ้นเมื่อประมาณตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่
11 เน้นการศึกษากฎหมายโรมัน แพทย์ศาสตร์ และปรัชญา นอกจากนี้ที่มหาวิทยาลัยปารีส
ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านเทววิทยาของสมัยกลาง
และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษ อาจกล่าวได้ว่า
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยแพร่ขยายไปทั่วยุโรป
3. การศึกษาของมหาวิทยาลัยสมัยกลางเน้นศิลปศาสตร์
7 แขนง กล่าวคือ 3 แขนงแรกมีความสำคัญที่สุด ได้แก่ ไวยากรณ์
วาทศิลป์ และตรรกวิทยา และรองลงมา คือ เลขคณิต ดาราศาสตร์ และดนตรี
มีนักศึกษาเข้าเรียนนับพันคน และใช้วิธีการสอบปากเปล่า
 |
เมืองโบโลญญา |
|