ยิดีรัสู่ว็ต์ที่ห้รู้รื่ * การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก *
:: เมนูหลัก ::
  หน้าแรก
  แบบทดสอบก่อนเรียน
  สมัยก่อนประวัติศาสตร์
  สมัยประวัติศาสตร์
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยโบราณ
     อียิปต์
     เมโสโปเตเมีย
     กรีก
     โรมัน
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยกลาง
     ศิลปะไบแซนไทน์
     ศิลปะโรมาเนสก์
     ศิลปะโกธิก
  ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่
     บารอก
     นีโอ-คลาสสิก
     โรแมนติก
     สัจนิยม
     เพรสชันนิสม์
 
     บบทดสอบหลังเรียน
:: เว็บที่หน้าสนใจ ::
  หนังสือพิมพ์
  
    ไทยรัฐ
      เดลินิวส์
      คมชัดลึก
      ข่าวสด
      ผู้จัดการ
      The Nation
      INN
      Bangkok Post 
  โทรทัศน์
      ช่อง 3
      ช่อง 5
      ช่อง7
      ช่อง 9
      ช่อง 11
      ช่อง itv
      UBC
      CNN
      BBC
 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก : ศิลปวัฒนธรรมแบบแบบโรแมนติก


ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบโรแมนติก
     1. ศิลปแบบโรแมนติก (Romanticism) หรือแบบจินตนาการนิยม เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก และธรรมชาติ โดยลดความเชื่อในเรื่องเหตุและระเบียบแบบแผน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของสมัยนีโอคลาสสิก รวมทั้งให้ความสำคัญแก่มนุษย์ในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าส่วนรวม รวมทั้งแฝงความรู้สึกชาตินิยมไว้ด้วย
     2. ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ.1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปส่งผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม

งานสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมแบบโรแมนติก
     1. ด้านวรรณกรรม ศิลปะแบบโรแมนติกจะปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดในงานด้านวรรณกรรม บทกวีส่วนใหญ่จะสะท้องถึงอารมณ์ ความรู้สึกและลักษณะนิยมของกวีผู้ประพันธ์อย่างชัดเจน ภาษาที่ใช้อ่อนหวานนุ่มนวล บ้างก็ชื่นชมต่อความงามของธรรมชาติและทิวทัศน์ของชนบท บ้างก็จินตนาการไปไกลถึงโลกแห่งความฝัน หรือดินแดนที่ลี้ลับ เป็นต้น
         1.1 นักประพันธ์โรแมนติกชาวอังกฤษ ที่มีผลงานทั้งในด้านร้อยแก้วและร้อยกรอง ได้แก่ วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ (William Wordsorth) นิยมความงามของธรรมชาติ
         1.2 นักประพันธ์โรแมนติกชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ โยฮัน โวล์ฟกัง เกอเธ (Johann Wolfgang Goethe) มีผลงานทั้งนวนิยาย โคลง กลอน เรื่องสั้นและบทละคร
         1.3 นักประพันธ์โรแมนติกชาวฝรั่งเศส ผู้มีความสามารถด้านการประพันธ์หลายประเภทเช่นกับเกอเธ ได้แก่ วิคเตอร์ ฮูโก (Victor Hugo)
         1.4 กวีโรแมนติกคนสำคัญของรัสเซีย คือ อเล็กซานเดอร์ พุชกิน (Alexander Pushkin) เป็นกวีชาวรัสเซียคนแรกที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์สังคมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างตรงไปตรงมา
         1.5 งานวรรณกรรมทางด้านปรัชญาการเมือง ผลงานที่เด่นเป็นของนักปรัชญาโรแมนติกคนแรกที่ชื่อ ซอง ชาคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ชาวฝรั่งเศส เน้นความสำคัญของความรู้สึกและอารมณ์มากกว่าเหตุผลและประสบการณ์ เรียกร้องเสรีภาพในการศึกษาและความรัก ต่อต้านสังคมที่เคร่งครัดตามกรอบประเพณี ผลงานที่สำคัญ คือ "สัญญาประชาคม" (The Social Contract)
         1.6 งานเขียนปรัชญาทางประวัติศาสตร์ ผู้มีชื่อเสียงในฐานะเป็นนักปรัชญาประวัติศาสตร์สมัยโรแมนติก คือ ยอร์ช วิลเลียม เฮเกล (George William Hegel) ผู้ก่อตั้ง "ทฤษฎีไดอะแลคติก" (Dialectic Theory) หรือทฤษฎีแห่งความขัดแย้ง สาระสำคัญ คือ ความขัดแย้งปรากฎในทุกสิ่ง และความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เกิดความก้าวหน้า
     2. งานจิตรกรรม มีผลงานปรากฎน้อยกว่าวรรณกรรม แต่จิตรกรแสดงออกในอารมณ์และความรู้สึกของตนอย่างเต็มที่ ใช้สีฉูดฉาดตัดกันอย่างรุนแรง มักเป็นภาพวาดทิวทัศน์ธรรมชาติหรือภาพสะท้อนสังคมสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรง จิตรกรที่สำคัญคือ โจเซฟ เทอร์เนอร์ (Joseph Turner) ชาวอังกฤษ และเดอลาครัวซ์ (Delacroix) ชาวฝรั่งเศส เป็นต้น
     3. งานสถาปัตยกรรม ลักษณะโรแมนติกในงานสถาปัตยกรรมไม่ปรากฎเด่นชัดมากนัก ส่วนใหญ่จะปรากฎเป็นศิลปะแบบโกธิค ซึ่งเคยเป็นที่นิยมในสมัยกลาง สถาปัตยกรรมแบบโกธิคเจริญรุ่งเรืองมากจนกลายเป็นศิลปะประจำชาติของอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมณี ตัวอย่างที่สำคัญคือ ตึกรัฐสภาอังกฤษ เป็นต้น
     4. งานด้านนาฎกรรม ละครสมัยโรแมนติกมีเนื้อหาง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน แต่เน้นบีบคั้นทางอารมณ์ของคนดู ให้ความรู้สึกเศร้าเสียใจตามตัวละคร ตัวเอกของเรื่องเป็นตัวแทนของความดี มีอุดมคติ
     5. ศิลปะดนตรี นักดนตรีและนักแต่งเพลงสมัยโรแมนติก เน้นการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างรุนแรง โดยเฉพาะความรู้สึกชาตินิยม การประพันธ์เพลงมีรูปแบบเสรีมากขึ้น ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์ของแบบคลาสสิก ทั้งนี้เป็นผลมาจากการบุกเบอกของบีโธเฟน (Beethoven) นักดนตรีชาวเยอรมันที่มีผลงานยอดเยี่ยมทั้งในรูปแบบคลาสสิกและโรแมนติก ประพันธ์กรอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงในดนตรีโรแมนติก ได้แก่ ไชคอฟสกี (Tchaikovsky) ชาวรัฐเซีย และโชแปง (Chopin) ชาวโปแลนด์ เป็นต้น
วิลเลียม เวิร์ดสเวิร์ธ (William Wordsorth)
โยฮัน โวล์ฟกัง เกอเธ (Johann Wolfgang Goethe)
วิคเตอร์ ฮูโก
(Victor Hugo)
อเล็กซานเดอร์ พุชกิน (Alexander Pushkin)

ซอง ชาคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau)
โจเซฟ เทอร์เนอร์ (Joseph Turner)
ไชคอฟสกี (Tchaikovsky)
โชแปง (Chopin)

 


การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติตะวันตก
นำเสนอโดย เอมอร กาศสกุล